จาก การศึกษาที่ทำในผู้หญิงอายุ 42-52 ปี 3,000 คน พบว่า.. การออกกำลังหนักปานกลาง เช่น จักรยาน เดินเร็ว ว่ายน้ำ ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการโรคกลุ่มสุขภาพจิต
ปี 2557 CDC (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค) สหรัฐฯรายงานว่า คนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างแรง ไปหาหมอ = 1/3 หรือ = 35% อีก 65% ไม่ไปหาหมอ ทำให้มาตรการที่ไม่ใช่ยา เช่น ออกกำลัง ซึ่งสำคัญมากสำหรับโรคทางจิต-ประสาท
อ.นพ.เกบ เมียคิน (http://drmirkin.com/about-dr-mirkin) อธิบายเรื่อง “ทำไมปั่นจักรยานทำให้แข็งแรงได้มากกว่าวิ่ง” ท่านกล่าวว่า.. คนส่วนใหญ่วิ่งแนวราบ ไม่ได้วิ่งแนวดิ่ง เช่น ขึ้นลงเนิน ขึ้นลงบันได
การวิ่ง.. ทำให้แข็งแรง แต่มวลกล้ามเนื้อไม่เพิ่ม! เเต่จักรยาน.. มีโอกาสปั่นขึ้นลงเนินหรือยืนปั่นเป็นพัก ๆ ต้านแรงดึงดูดของโลก ทำให้มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นได้ มวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มจะช่วยดูดซับน้ำตาล ไขมัน และ โคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) ทำให้ สุขภาพดีกว่าในระยะยาว แถมยังช่วยให้หุ่นดูดี ตึงตัว ไม่หย่อนยานหากท่านปั่นจักรยานอยู่แล้ว ขอให้ ลองปั่นเร็วมาก ๆ สลับช้าๆ สัก 1 นาที หาโอกาสขึ้นลงเนินหรือยืนปั่นสลับบ้าง จะได้รับประโยชน์จากจักรยานเต็มที่
“จุดเด่นของจักรยานที่เหนือกว่าการวิ่ง ได้แก่.. บาดเจ็บน้อยกว่า เช่น เอ็นเข่าอักเสบน้อยกว่า ฯลฯ , สนุกกว่า”
การ ศึกษาเมื่อต้นปี 2556 พบว่า.. กลุ่มตัวอย่างที่วิ่งหรือปั่นจักรยาน 1 ชั่วโมง มีระดับฮอร์โมนเกรลอิน (ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นความอยากอาหาร (hunger) ต่ำลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลัง ตรงนี้บอกเป็นนัยว่า.. การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ออกฤทธิ์ 2 อย่างในการป้องกันโรคอ้วน ซึ่งได้แก่.. ทำให้ความอยากอาหารลดลง , เพิ่มการเผาผลาญกำลังงาน
- บาดเจ็บน้อยกว่า เช่น เอ็นเข่าอักเสบน้อยกว่า ฯลฯ
- สนุกกว่า
- ทำให้ความอยากอาหารลดลง
- เพิ่มการเผาผลาญกำลังงาน
สุด ท้ายเเล้วไม่ว่าเราจะปั่นจักรยานหรือวิ่งหรือเเม้กระทั่งการเดินที่มากกกว่า 15 นาทีก็สามารถออกำลังกายได้เช่นกัน เเละเผาผลาญพลังงานส่วนเกินได้เช่นกัน
ที่มา.. https://rider.in.th/…/86-you-know-why-the-bike-stronger.html